สธ.31 ต.ค.-กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนเสพข้อมูลข่าวสารอย่างเหมาะสม ไม่มากเกินไป กระทบร่างกายและจิตใจ เหนื่อยล้า เครียด  จนโรคกำเริบ ที่สำคัญหากเป็นข้อมูลข่าวสารจากโซเชียล หรือไม่แน่ใจแหล่งที่มา ไม่ควรแชร์หรือส่งต่อในทันที

health data 581102

นาย แพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สังคมในยุคปัจจุบันประชาชนเสพข้อมูลจากสื่อที่อยู่ใกล้ตัวทั้งจากวิทยุ ทีวี คอมพิวเตอร์ รวมทั้งโทรศัพท์มือถือที่อยู่ใกล้ชิดเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2557 สำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน ในประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 62.3 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 23.8 ล้านคนหรือร้อยละ 38.2 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 21.7 ล้านคนหรือร้อยละ 34.9 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 48.1 ล้านคนหรือร้อยละ 77.2 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ที่ น่าห่วงก็คือการรับข้อมูลที่มากเกินไปแล้ว จนทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า สมองคิดตามทำงานตลอดเวลา เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากขึ้น ทำให้ปวดแสบท้อง หัวใจทำงานหนัก ความดันเลือดเพิ่มขึ้น เป็นต้น และหากจ้องอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานานกว่าสิบชั่วโมงในแต่ละวัน อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพตา ไม่ว่าจะปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า สายตาสั้น อาจทำให้เกิดต้อกระจกขึ้นได้เร็วขึ้น

ดัง นั้น ควรทำกิจกรรมอื่นๆ นอกจากการติดตามข้อมูลข่าวสาร เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ฟังเพลง รับประทานอาหาร รวมทั้งการพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ร่างกายผ่อนคลาย จะช่วยให้สมองหลั่งสารเอนดอร์ฟีน (endorphine) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ขจัดความเครียด ช่วยให้นอนหลับสบาย นอกจากนี้  ความรู้สึกว่าต้องการข่าวใหม่ๆเข้ามาเร้าความสนใจตลอดเวลา ทำให้บางคนรับข้อมูลโดยขาดการกลั่นกรองข้อเท็จจริง หากไม่แน่ใจข้อมูลจากโซเชียล หรือแหล่งที่มา ไม่ควรแชร์หรือส่งต่อในทันที.-สำนักข่าวไทย

ที่มา :: http://www.tnamcot.com/content/320319